วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

"ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม"

"สิ่งแวดล้อม"หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม สิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ (เกษม, 2540) จากคำจำกัดความดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อม คือ สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา แต่ คำว่า "ตัวเรา" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวมนุษย์เราเท่านั้น โดยความเป็นจริงแล้ว ตัวเรานั้นเป็นอะไรก็ได้ที่ต้องการศึกษา/รู้ เช่น ตัวเราอาจจะเป็นดิน ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมดิน หรืออาจจะเป็นน้ำ ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีข้อสงสัยว่า สิ่งที่อยู่รอบตัวเรามีรัศมีจำกัดมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าสิ่งต่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ได้มีขอบเขตจำกัด มันอาจอยู่ใกล้หรือไกลตัวเราก็ได้ จะมีบทบาทหรือมีส่วนได้ส่วนเสียต่อตัวเราอย่างไรนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งนั้นๆ เช่น โศกนาฏกรรมตึกเวิร์ดเทรด ซึ่งตัวมันอยู่ถึงสหรัฐอเมริกา แต่มีผลถึงประเทศไทยได้ในเรื่องของเศรษกิจ เป็นต้น


ภาพ:สิ่งแวดล้อม.JPG
 

องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
               สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์  ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีองค์ประกอบ 3  ประการดังนี้           
                  1.   ลักษณะภูมิประเทศ
                  2.   ลักษณะภูมิอากาศ
                  3.  ทรัพยากรธรรมชาติ  
สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม
 สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาตินับวันแต่จะถูกทำลายลงไปเรื่อย ๆ โดยที่สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย
และสูญเสียได้ 3 ทาง คือ (ราตรี ภารา, 2540)
1. มนุษย์
2. สัตว์และโรคต่าง ๆ
3. ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
            
      
ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ


          ระบบนิเวศ (Ecosystem) เป็นโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ กับบริเวณแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่
           ระบบนิเวศนั้นเป็นแนวคิด (concept) ที่นักนิเวศวิทยาได้นำมาใช้ในการมองโลกส่วนย่อย ๆ ของโลกเพื่อที่จะได้เข้าใจความเป็นไปบนโลกนี้ได้ดีขึ้น
ระบบนิเวศหนึ่ง ๆ นั้น ประกอบด้วยบริเวณที่สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ และกลุ่มประชากรที่มีชีวิตอยู่ในบริเวณดังกล่าว พืชและโดยเฉพาะสัตว์ต่าง ๆ ก็ต้องการบริเวณที่อยู่อาศัยที่มีขนาดอย่างน้อยที่สุดที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อว่าการมีชีวิตอยู่รอดตลอดไป ยกตัวอย่างเช่น สระน้ำแห่งหนึ่งเราจะพบสัตว์และพืชนานาชนิด ซึ่งสามารถปรับตัวให้เข้ากับบริเวณน้ำที่มันอาศัยอยู่โดยมีจำนวนแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด สระน้ำนั้นดูเหมือนว่าจะแยกจากบริเวณแวดล้อมอื่น ๆ ด้วยขอบสระ แต่ตามความเป็นจริงแล้วปริมาณน้ำในสระสามารถเพิ่มขึ้นได้ โดยน้ำฝนที่ตกลงมา ในขณะเดียวกันกับที่ระดับผิวน้ำก็จะระเหยไปอยู่ตลอดเวลา น้ำที่ไหลเข้ามาเพิ่มก็จะพัดพาเอาแร่ธาตุและชิ้นส่วนต่าง ๆ ของพืชที่เน่าเปื่อยเข้ามาในสระตัวอ่อนของยุงและลูกกบตัวเล็ก ๆ อาศัยอยู่ในสระน้ำ แต่จะไปเติบโตบนบก นกและแมลงซึ่งมีถิ่นที่อยู่นอกสระก็จะมาหาอาหารในสระน้ำ การไหลเข้าของสารและการสูญเสียสารเช่นนี้จึงทำให้สระน้ำเป็นระบบเปิดระบบหนึ่ง





หากมีแร่ธาตุไหลเข้ามาเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้การเจริญเติบโตของพืชเพิ่มมากขึ้น เช่น ไฟโตแพลงตันหรือพืชน้ำที่อยู่ก้นสระ ปริมาณสัตว์จึงเพิ่มมากขึ้นด้วย เพราะมีอาหารอุดมสมบูรณ์ แต่เมื่อปริมาณสัตว์เพิ่ม ปริมาณของพืชที่เป็นอาหารก็จะค่อย ๆ น้อยลง ทำให้ปริมาณสัตว์ค่อย ๆ ลดตามลงไปด้วยเนื่องจากอาหารมีไม่พอ ดังนั้นสระน้ำจึงมีความสามารถในการที่จะควบคุมตัวของมัน (Self-regulation) เองได้ กล่าวคือ จำนวนและชนิดของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่อยู่ในสระน้ำจะมีจำนวนคงที่ ซึ่งเราเรียกว่ามีความสมดุล
สระน้ำนี้ จึงเป็นหน่วยหนึ่งของธรรมชาติที่เรียกว่า "ระบบนิเวศ" (Ecosystem) ซึ่งกล่าวได้ว่าระบบนิเวศหนึ่ง ๆ นั้น เป็นโครงสร้างที่เปิดและมีความสามารถในการควบคุมตัวของมันเอง ประกอบไปด้วยประชากรต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ไร้ชีวิต ระบบนิเวศเป็นระบบเปิดที่มีความสัมพันธ์กับบริเวณแวดล้อมโดยมีการแลกเปลี่ยนสาร และพลังงาน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ตัวชุมชนที่มีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ใช้ชีวิตนั้นรวมกันเป็นระบบนิเวศ
ระบบนิเวศอาจมีขนาดใหญ่ระดับโลก คือ ชีวาลัย (biosphere) ซึ่งเป็นบริเวณที่ห่อหุ้มโลกอยู่และสามารถมีขบวนการต่าง ๆ ของชีวิตเกิดขึ้นได้หรืออาจมีขนาดเล็กเท่าบ่อน้ำแห่งหนึ่ง แต่เราสามารถจำแนกระบบนิเวศออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ ดังนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบนิเวศ
มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ  ระบบนิเวศจึงเป็นสิ่งแวดล้อมของมนุษย์  มนุษย์สังเคราะห์แสงเองไม่ได้จึงไม่อาจสร้างอาหารด้วยตัวเอง  ต้องเก็บเกี่ยวทรัพยากรจากระบบนิเวศโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากป่าไปใช้ประโยชน์  วิธีการเก็บเกี่ยวมีหลายแบบ  บางวิธีทำให้ระบบนิเวศเสื่อมลง  แต่บางวิธีนอกจากจะไม่ทำลายยังช่วยให้เกิดการกระจายพันธุ์  และเพิ่มพูนคุณค่าทางชีวภาพให้กับระบบนิเวศ  ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในระบบนิเวศจึงเป็นความสัมพันธ์สองทาง คือ ทั้งใช้หรือเอาออกไปจากระบบ และให้หรือเกื้อกูลให้ระบบสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  
 ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต                                                                             
  มนุษย์จัดว่าเป็นส่วนหนึ่งหรือองค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ธาตุอาหารและพลังงานที่มีอยู่ในระบบนิเวศเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ แต่มนุษย์ไม่ได้จำกัดการใช้ธาตุและพลังงาน จากระบบนิเวศชนิดเดียวเท่านั้น แต่มีความสามารถที่จะใช้ธาตุอาหารและพลังงาน จากระบบนิเวศทุกระบบที่มีอยู่ในโลกทั้งหมด เช่น สามารถที่จะนำสัตว์ทะเลมาเป็นอาหาร นำน้ำจากใต้ดินขึ้นมาดื่ม นำพืชที่อยู่ในป่ามาเป็นอาหาร ฯลฯ นอกจากนี้มนุษย์ยังมีวิวัฒนาการการใช้ทรัพยากรทั้งหลายที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ไม่ได้ใช้ทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการของร่างกายปกติเท่านั้น แต่มนุษย์ใช้ทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการด้านอื่นด้วย เช่น ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า เครื่องประดับ น้ำมันเชื้อเพลิง และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ภายในโลก
ในปัจจุบันมนุษย์เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ หรือต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย และในที่สุดมนุษย์ก็จะได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต
มนุษย์ ต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอดทุกยุคสมัย ในระยะแรก ๆ เนื่องจากจำนวนประชากรยังมีไม่มากประกอบกับทรัพยากรธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมยังมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ การกระทำของมนุษย์เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งแวดล้อมยังมีไม่มาก และธรรมชาติยังมีความสามารถรองรับและฟื้นตัวได้เองจากการกระทำของธรรมชาติเองและจากการกระทำของมนุษย์ได้เกือบหมด ดังนั้นประเด็นปัญหาปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจึงถูกละเลย และไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร  
      
 อิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
ในสมัยก่อนที่ประชากรของมนุษย์บนโลกยังมีจำนวนเพียงเล็กน้อยนั้น การดำเนินชีวิตของมนุษย์ไม่ได้สร้างผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างไร แต่ต่อมาเมื่อมนุษย์เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนาวิถีชีวิตด้วยเทคโนโลยีให้มีความเป็นอยู่สุขสบายดี การบุกรุกสภาพสมดุลของธรรมชาติจึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรง
ปัจจุบันนี้มนุษย์มักจะทำให้ระบบนิเวศในโลกนี้เป็นระบบนิเวศที่ธรรมดา โดยเฉพาะการเกษตรในปัจจุบันได้พยายามลดระดับต่าง ๆ ในห่วงโซ่อาหารให้เหลือน้อยที่สุด โดยการกำจัดพืชและหญ้าหลายชนิดไปเพื่อพืชชนิดเดียว เช่น ข้าวสาลี หรือข้าวโพด ซึ่งทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้ความมั่นคงระบบนิเวศลดน้อยลง หากมีโรคระบาดเกิดขึ้น โอกาสที่ระบบนิเวศจะถูกทำลายก็จะมีมาก
นอกจากนั้น บริเวณการเกษตรทั่วโลกก็นับเป็นบริเวณที่ระบบนิเวศถูกทำลายมาก ทั้งนี้เพราะมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลาย สารพิษที่เกิดจากการเกษตรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตระดับสูง ๆ ได้ตามห่วงโซ่อาหาร จึงมักสะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิตในปริมาณที่เข้มข้นกว่าที่มีในสิ่งแวดล้อมเสมอ ดังตัวอย่างของการใช้ DDT
เมื่อมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชในบริเวณที่หนึ่ง DDT ซึ่งเป็นส่วนผสมของยากำจัดศัตรูพืชนั้น จะตกค้างอยู่ในดินถูกชะล้างลงในแม่น้ำและสะสมอยู่ในแพลงค์ตอน เมื่อสัตว์น้ำชนิดอื่น เช่น ปลามากินแพลงค์ตอน DDT ก็จะเข้าไปสะสมในตัวปลาเป็นปริมาณมากกว่าที่อยู่ในแพลงค์ตอนและเมื่อนกซึ่งกินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ เข้าไป ก็จะสะสมไว้ในปริมาณสูง เมื่อสัตว์อื่นมากินนกก็ยิ่งจะทำให้การสะสม DDT ในตัวมันสูงมากขึ้นไปอีก ถ้า DDT สูงขึ้นถึงขีดอันตรายก็จะทำให้สัตว์ตายได้หรือไม่ก็ผิดปกติ DDT ส่วนใหญ่จะสะสมในเนื้อเยื่อไขมันและขัดขวางการเกาะตัวของ แคลเซี่ยมที่เปลือกไข่ทำให้ไข่บางแตกง่ายและไม่สามารถฟักออกเป็นตัวได้มีรายงานว่าในประเทศสวีเดน และในประเทศญี่ปุ่นมีนกบางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว เนื่องจากผลกระทบสะสมตัวของ DDT
การพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ นั้นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ มิฉะนั้นก็อาจจะเกิดผลเสียหายร้ายแรง ทั้งต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ตัวอย่างเช่น การสร้างเขื่อนทำให้เกิดบริเวณน้ำขังจำนวนมหาศาลอาจทำให้เกิดการระบาดของโรคเนื่องจากพาหะของโรคนั้นสามารถเติบโตได้ดีในบริเวณน้ำนิ่ง






 
 
ที่มา : รวบรวมจากหนังสือเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม


วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผิวสวยสุขภาพดีด้วยวิธีธรรมชาติ

    “เมล็ดกาแฟ” มนต์มหัศจรรย์ของกาแฟอีน กาแฟมีคุณสมบัติในการรักษาและถนอมผิว ด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวขจัดพิษให้กับผิวชั้นนอก และกระตุ้นการทำงานของเซลล์ผิวชั้นในให้ดูเปล่งปลั่ง พร้อมปรับสภาพความดันโลหิตและกระตุ้นการเผาผลาญไขมันใต้ชั้นผิวด้วย

    “ใบชาเขียว” สมุนไพรสุดฮิตของคนตะวันออก มีคุณสมบัติช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนัง โดยจะขับสารแอนตี้ออกซิแดนท์ โพลีฟีนอล ที่มีความสามารถในการฟอกออกซิเจนให้ผิวกลับมาเปล่งปลั่ง นอกจากนี้ ยังมีสารกาเฟอีนและสารฝาดแคททิคิน ที่ช่วยในกระบวนการเมตาบอลิซึมในร่างกายให้ดีขึ้น เผาผลาญไขมัน ลดริ้วรอยในชั้นผิว ทำให้ผิวกระจ่างและสมบูรณ์ขึ้น

    “ลาเวนเดอร์“ เอสเซนเชียลออยล์แห่งการบำบัด มีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูและผ่อนคลายร่างกายไปพร้อมๆ กัน ขณะเดียวกัน ก็ช่วยลดอาการปวดหัวและไมเกรน ควบคุมและปรับสมดุลระบบทำงานของต่อมไขมันใต้ชั้นผิวหนัง และมีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียอีกด้วย

    “ผลส้ม” อุดมด้วยคุณค่าจากธรรมชาติ โดยเฉพาะ วิตามีนซี ที่มีสารช่วยขจัดความหมองคล้ำของผิวพรรณ บำรุงผิวใหม่ให้ขาวเนียน และลบรอยแห้งกร้าน ทำให้ผิวพรรณแข็งแรงขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์


    "ได้ไอเดียดีๆ กันแล้วจากนี้ไปทุกคนคงเตรียมพร้อมรับสิ่งดีๆ ที่กำลังจะเข้ามาในชีวิต ด้วยความสดใสเปล่งปลั่งของสุขภาพผิวที่ดี และรอยยิ้มสดใสของสุขภาพกายแถมมาอีกด้วย"